10 เทรนด์การตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค 2019

10 เทรนด์การตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค 2019

ในปี 2018 Technology Disruption พลิกหน้าอุตสาหกรรมเดิมซึ่งในเวลาเดียวกันเกิด Business Model ใหม่ซึ่งเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เมื่อเจอผลกระทบจากภาวะผันผวนของเศรษฐกิจในทุกระดับส่งผลให้ปัจจุบันนี้กลายเป็นยุค Disruptive World  ทำให้ธุรกิจต้องปฏิวัติตัวเอง ไปจนถึง Reorganize องค์กร หรือเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้ Chess Studio รับทำเว็บไซต์ สรุปเทรนด์การตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคจากปี 2018 ที่ยังคงกระแสไปจนถึงปี 2019

1.พังกรอบแนวคิดของ “ความสมบูรณ์แบบ”

ผู้บริโภคมักติดลักษณะของ Stereotype Perfectionist ก็คือ ความสมบูรณ์แบบที่สังคมกำหนดว่าสิ่งไหนสวยไม่สวย สิ่งไหนดีไม่ดี ทำให้ผู้บริโภคมองหาผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ตัวเองเพอร์เฟค เพื่อให้อยู่ในสังคมได้ด้วยการทำให้ตัวเองเป็นไปตามบรรทัดฐานที่สังคมกำหนด แต่เทรนด์ก็เปลี่ยนแปลงไปสู่ความไร้กรอบ จากงานวิจัยของ Kantar Insights กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟค แต่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีเอกลักษณ์ ปัจจุบันผู้บริโภคภูมิใจกับการมีผิวสุขภาพดี มากกว่าการมีผิวขาว ดังนั้นนิยามความสวยจึงเปลี่ยนไปในยุคนี้

แม้แต่เรื่องของการแบ่งเพศชาย เพศหญิง เวลานี้ได้เพิ่มเซ็กเมนต์ เพศที่ 3 เพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายของสินค้า หรือแบรนด์ ส่งผลให้การทำการตลาดมีกลุ่มที่กว้างขึ้น เพราะบางผลิตภัณฑ์ซึ่งจำกัดเป็นของผู้ชาย แต่ผู้หญิงก็สนใจได้เช่นกัน ดังนั้น มุมมองการตลาดเปลี่ยนไป การแบ่ง Segmentation ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน แบรนด์จึงควรจับตามองความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและไม่ยึดติดกับแนวคิดเดิมๆ

2.แบรนด์ต้องการฐานข้อมูลแต่ไม่ละเลยความปลอดภัย

ฐานข้อมูลของผู้บริโภคซึ่งแบรนด์ได้มาจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การสมัครสมาชิก การให้ส่วนลดเพื่อแลกกับข้อมูล หรือเคยได้รับข้อมูลจากบนออนไลน์ การขอข้อมูลลูกค้าผ่านแฟนเพจแบรนด์ หรือการที่ผู้บริโภคเคยคลิกเข้าไปดูสินค้าผ่าน Online Shopping ทุกช่องทางที่แบรนด์ได้รับข้อมูลจากลูกค้าล้วนมีความเสี่ยง “ฐานข้อมูลลูกค้า” คือ คลังสมบัติ ที่มีค่ามหาศาลของธุรกิจในยุคนี้ เพราะสามารถนำไปพัฒนาสินค้าจากความต้องการของผู้บริโภคจากระดับกลุ่ม ไปจนถึงระดับบุคคล และวางกลยุทธการสื่อสาร

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญต่อปลอดภัยทางด้านข้อมูลส่วนตัว อย่างปี 2018 ที่ผ่านมามีข่าวการรั่วไหลข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊ก ทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวในเรื่องของความปลอดภัย ดังนั้นแบรนด์จึงควรปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค

3.ต้องการความสัมพันธ์ที่ลึกซึ่งไม่ใช่แค่บนโซเชียล

ผู้บริโภคใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียมากเป็นส่วนใหญ่ โดย ช้อปปิ้งออนไลน์ ผ่านสมาร์ทโฟนถึง 91% โดยเฉลี่ยใช้เวลาในโลกออนไลน์ 4.2 ชั่วโมงต่อวันต่อคน/ทุกวัน อัตราของการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยสูงอันดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ผลวิจัยระบุว่า คนไทยบางคนเสพติดการใช้เฟซบุ๊กมากแต่ก็ยังรู้สึกเหงา เดียวดาย มีความเครียด มีแนวโน้มคนในเมืองอยู่คนเดียว โหยหาความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งเพราะมองความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์เป็นความสัมพันธ์ที่ฉาบฉวย

ซึ่งเทรนด์ใหม่เปลี่ยนจาก Connected Consumer ขยับไปสู่ Realize Connection ซึ่งจะให้ความสัมพันธ์ระหว่าง คน กับ คน และประสบการณ์ปัจจุบัน แบรนด์จึงมีความตรงใจผู้บริโภค แบรนด์มีวัตถุประสงค์ที่มีความลึกซึ้ง จริงใจ สร้างความหมาย และสร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

4.แนวคิดระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม เชื่อมโยงกันอย่างยั่งยืน

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจะเป็นอีกเทรนด์ที่แรงในปี 2019 ปัจจุบันมีกระแสตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้แนวคิดสร้างความยั่งยืนเป็นประเด็นสำคัญระดับโลก ธุรกิจจึงมุ่งมายังทิศทางนี้มากขึ้น ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตและการบริโภค กลับสู่กระบวนการที่สามารถสร้างคุณค่าได้อีกครั้งเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างสูงสุด ไม่ว่าจะการนำกลับมาแปรสภาพใช้ใหม่, การนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือการทำให้ย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ และนอกจากนี้ยังมีการตั้งเป้าลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ หรือเพิ่มการใช้พลาสติกรีไซเคิลใหม่ในบรรจุภัณฑ์อีกด้วย

5.ผู้บริโภคต้องการเนื้อหาพัฒนาทักษะ ความรู้

โลกยุคดิจิทัลสร้างโอกาสเปิดกว้างให้คนทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้ทั้งในอาชีพการงาน การเงินได้อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในตอนนี้คือ กลุ่มผู้บริโภคมีแรงขับเคลื่อนจากตัวเองเมื่อเห็นตัวอย่างของคนรอบข้างที่ประสบความสำเร็จจึงกลายเป็นแรงผลักดัน แรงบันดาลใจให้อยากประสบความสำเร็จเช่นกันจึงทำให้คนส่วนใหญ่หันมาเปิดรับข้อมูลในแนวการเพิ่มคุณค่า เพิ่มทักษะ ความรู้ให้ชีวิตประสบความสำเร็จ ทั้งทางอินเตอร์เน็ต และสื่อออฟไลน์ต่างๆ ซึ่งมองเห็นเป็นโอกาสดีสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างพลังผู้บริโภค ในการสร้างความมั่นใจ และสร้างแรงบันดาลใจ หรือแบ่งพื้นที่ให้ผู้บริโภคได้แสดงศักยภาพ เมื่อทำตามความฝันได้สำเร็จก็จะเกิดการส่งต่อไปสู่คนอื่นๆ

6.ธุรกิจ การตลาดยุคดิจิทัล

ความโปร่งใสเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ กระแส # hashtag ก็มีผลเช่นกัน ข้อเรียกร้องของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์ เมื่อแบรนด์มีปัญหา ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการให้แบรนด์สืบสวนหาข้อเท็จจริงและต้องชี้แจงให้ผู้บริโภคทราบโดยตรงพร้อมมีแนวทางแก้ไข การตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการ ผู้บริโภคต้องการรู้กระบวนการของสินค้าทั้งหมด หลายแบรนด์จึงมีการใช้ QR Code ให้แสกนเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งผลิต กระบวนการผลิต

7.เข้าถึงผู้บริโภคให้ถูกจังหวะเวลา

การตลาดที่เน้นจับกระแสสังคมที่คนกำลังพูดถึงแปลงมาเป็นเนื้อหาที่สื่อสารเพื่อสร้าง viral แบรนด์จึงต้องระวังกระแสด้านลบที่จะตีกลับมา แบรนด์ควรใส่ใจสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอย่างถูกเวลา และตอบโจทย์ตอบสนองความต้องการได้ถูกจุด โดยแบรนด์ต้องเข้าถึงผู้บริโภคให้ถูกที่ ถูกเวลา ทั้งช่องทางการขาย ช่องทางการสื่อสาร และการวางขายสินค้า

8.ผู้บริโภคต้องการสินค้าและบริการที่เฉพาะตัวขึ้น

ผู้บริโภคมอบข้อมูลให้กับแบรนด์อย่างละเอียดด้วยความคาดหวังว่าแบรนด์จะนำเสนอสินค้าได้เฉพาะเจาะจงเหมาะสำหรับผู้บริโภคแบบตรงตัว อย่างไรก็ตามแบรนด์จะต้องนำฐานข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ดังนั้นเทรนด์การตลาดที่จะเจาะไปยังระดับบุคคล การสื่อสารและการนำเสนอตรงกับสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจริงๆ

9.ผู้บริโภคต้องการประสบการณ์ไร้รอยต่อ

ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการเพียงผ่าน ออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ เท่านั้น แต่ต้องการประสบการณ์ไร้รอยต่อซึ่งแบรนด์จะต้องเข้าใจไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายว่าใช้ชีวิตอยู่ที่ใดก็ควรนำพาแบรนด์เข้าไปสู่จุดนั้น ทั้งการออฟไลน์และการออนไลน์

10.ผู้บริโภคเชื่อ Micro-Nano Influencer

การตัดสินใจซื้อสินค้าได้เปลี่ยนไปเมื่อผู้บริโภคเลือกที่จะเชื่อคนแปลกหน้าที่มีประสบการณ์ตรงมากกว่า จึงทำให้เกิด Micro Influencer (ผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน) ซึ่งเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ และในเวลานี้ได้ขยายลึกลงในระดับ Nano Influencer ซึ่งเป็นผู้บริโภคทั่วไปที่มีการใช้สินค้าหรือบริการจริง ตามด้วยครอบครัว เพื่อน หรือ Celebrity คนมีชื่อเสียงตามมาในลำดับท้ายๆ