เทคนิคปรับพฤติกรรมการนอนสำหรับคนทำงาน

เทคนิคปรับพฤติกรรมการนอนสำหรับคนทำงาน

การนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต อีกวิธีหนึ่ง เพราะการนอนหลับคือการพักผ่อนร่างกาย เติมพลังร่างกาย จากการทำงาน การใช้แรงาน การไปปฏิบัติกิจกรรมต่างๆที่กระทำมาทั้งวัน ซึ่งในปัจจุบันคนเรามักจะมีภาวะ เครียดค่อยข้างสูง ทำให้ปัจจัยการดำรงชีวิตข้อนี้เสื่อมลง เกิดการนอนไม่หลับ นอนดึก ซึ่งทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอารมณ์ หรือการทำงานของสมอง และส่วนต่างๆของร่างกาย ทาง chessstudio รับทำเว็บไซต์ จะมาชี้แจงถึงสาเหตุของการนอนไม่หลับ ไปดูพร้อมกันเลย

ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ชี้แจงมาว่า อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือโรคประจำตัวที่เป็นเหตุให้นอนไม่หลับเรื้อรัง โดยอาการนอนไม่หลับชั่วคราว อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • นาฬิกาชีวภาพของร่างกายถูกรบกวน เช่น อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายยังปรับจังหวะเวลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีเวลา (time zones) แตกต่างกันไม่ได้ เนื่องจากร่างกายยังเคยชินกับเวลาในสภาพแวดล้อมเดิมอยู่ (jet lag) หรือการทำงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่เสมอ เป็นต้น
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อมในการนอน เช่น เสียงดังรบกวน มีแสงสว่างมากเกินไป  อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป หรือคับแคบเกินไป
  • ปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่นความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า
  • อาการเจ็บป่วย เช่นภาวะกรดไหลย้อน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด ไอ โรคพาร์กินสัน ไทรอยด์เป็นพิษ โรคข้อ หรือเนื้องอก เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น pseudoephedrine, terbutaline, phentermin
  • การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์  แม้ว่าแอลกอฮอล์จะทำให้รู้สึกง่วงแต่กลับรบกวนการหลับลึกและทำให้ตื่นกลางดึกได้
  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่จะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุ มีการทำงานของร่างกายที่เสื่อมลง ระดับฮอร์โมนที่ลดง โรคประจำตัวที่รบกวนการนอน และการรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด

วิธีการปรับพฤติกรรมการนอนมีดังนี้

  • เข้านอนให้เป็นเวลา ไม่งีบหลับในระหว่างวัน หรือนอนเมื่อง่วงนอน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักช่วงก่อนนอน
  • ตรวจสอบยาที่รับประทานอยู่ว่ามียาชนิดใดที่อาจเป็นเหตุให้นอนไม่หลับหรือไม่
  • จัดห้องให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการนอน เช่น เงียบ มืด มีอุณหภูมิที่เหมาะสม เป็นต้น
  • เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ในช่วงเย็นหรือก่อนเข้านอน
  • ลด ละเลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่สามารถส่งผลให้นอนหลับได้ยากขึ้น
  • งดรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน
  • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายก่อนนอน หลีกเลี่ยงการคิดเรื่องเครียดและทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกตื่นตัว เช่น เล่นเกม ดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม หากท่านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังเกิดปัญหานอนไม่หลับเช่นเดิม หรือไม่ดีขึ้น แนะนำให้ท่านเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ และรับการรักษาได้อย่างถูกต้องนะคะ

 

ขอบคุณที่มาจาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์