กระบวนการคิดที่เป็นระบบสำหรับธุรกิจ (Systematic Thinking Process)

กระบวนการคิดที่เป็นระบบสำหรับธุรกิจ (Systematic Thinking Process)

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าร้านค้าออนไลน์ อาจมีคำถามในใจว่า หากต้องการเพิ่มยอดขายโดยการจัดโปรโมชั่น ลดราคาลง 10% เพื่อดึงดูดลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาจึงเข้าสู่กระบวนการคิดที่เป็นระบบ (Systematic Thinking Process) เริ่มต้นด้วยการระบุปัญหาว่าแท้ที่จริงแล้วปัญหาคืออะไร (Identify Problem / Clarify Issue) ระบุปัญหาว่าเกิดจากอะไรกันแน่ (Real Pain Point) ซึ่งการตั้งคำถามไม่ใช่การนำคำตอบที่ต้องการมาตั้งเป็นคำถาม เพราะคุณจะไม่ได้รับคำตอบที่แท้จริง การระบุ หรืออธิบายว่าอะไรคือปัญหา มีความสำคัญมากหากจำกัดความได้ถูกต้องจะทำให้เข้าใจง่าย เช่น ยอดขายตก กับกำไรตก มีความแตกต่างกัน ถ้าระบุปัญหาได้ถูกต้องโอกาสที่จะแก้ปัญหาได้มีถึง 50% เลยทีเดียว

ขั้นตอนของกระบวนการคิดที่เป็นระบบ ดังนี้

1.ระบุปัญหาว่าแท้ที่จริงแล้วปัญหาคืออะไร (Identify Problem / Clarify Issue) เกิดจากอะไรกันแน่ (Real Pain Point) ดังนี้

1.1 หลีกเลี่ยง การพยายามแก้ไขปัญหา โดยไม่มีข้อมูล (Data) นึกเอาเอง คาดเดาเอาเอง
1.2 ระบุปัญหา ให้เฉพาะเจาะจง (Specific) ให้มากที่สุด อะไร ที่มีปัญหา (What / Who) เช่น สินค้า A
1.3 ระบุว่า ปัญหา เกิดที่ไหน (Where) ให้ขอบเขตที่แคบที่สุด เช่น เกิดขึ้น ทุกหน่วยในองค์กร, เฉพาะฝ่ายขายในประเทศ, เฉพาะฝ่ายขาย ช่องทางปกติ (TT), เฉพาะพนักงานขาย ก., เฉพาะลูกค้า ข. ฯลฯ
1.4 ระบุว่า ปัญหา มีการเบี่ยงเบน จากมาตรฐาน หรือความคาดหวัง เท่าไร (How Much) กี่ราย กี่หน่วย กี่บาท กี่เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ
1.5 ระบุว่า ปัญหา เกิด ช่วงเวลาใด เมื่อไร (When) เช่น เกิดเป็น ประจำ ทุกวันจันทร์ สัปดาห์ที่ 1, 2. และ 3 ของทุกเดือน
เพราะ หากระบุปัญหาไม่ถูกต้อง องค์กรก็จะทุ่มเท ทรัพยากร (ที่มีอยู่อย่างจำกัด) ไปแก้สิ่งที่ไม่เป็นปัญหา ลงทุนในทางที่ผิด ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร แล้วยัง เสืยเงิน เสิยเวลา และสิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือ ทำให้ทีมงาน เสียขวัญ เสียความเชื่อมั่นในการนำ และหมดกำลังใจในการทำงาน

2. ลำดับ ความสำคัญ ของปัญหา(Prioritize) ที่มีทั้งหมด ดังนี้

2.1 เขียนปัญหา ที่มีอยู่ทั้งหมด (List all Issues)
2.2 ประเมิน ความสำคัญ vs. ความเร่งด่วน (เห็นปัญหา บางส่วน อย่า นึกเองว่า พบ ปัญหา หมดแล้ว ทุกส่วน)
2.3 เลือกปัญหา ที่ เร่งด่วน & สำคัญ 1 อย่าง
(ในระยะยาว ควรจะจัดสรรเวลา เพื่อบริหาร ที่ ไม่เร่งด่วน & สำคัญ อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง)

 

3. ตรวจสอบ ข้อมูล (Audit Data) ของปัญหา ที่เลือก ดังนี้

3.1 รวบรวม ข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง
3.2 แยกข้อเท็จจริง ออกมาให้ชัดเจน ว่า ข้อมูลใดเป็น ข้อเท็จจริง ความจริง (Fact) ความรู้สึก (Felling) ความคิดเห็น (Opinion) หรือ ความเชื่อ (Belief)
3.3 เลือก ข้อมูลที่เป็น ข้อเท็จจริง เท่านั้น เพื่อใช้สร้างชัยชนะ จากพื้นฐานของ “ข้อมูล” ที่ถูกต้อง
3.4 จัดการ ข้อมูล โดย การจัดเรียง (Sorting), จัดทำแนวโน้ม (Trend) ฯลฯ

อ้างอิงข้อมูลจาก smartsme