อาการเสี่ยงออฟฟิสซินโดรมและวิธีป้องกัน

อาการเสี่ยงออฟฟิสซินโดรมและวิธีป้องกัน

ความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นได้หลากหลายแบบ เช่น ร่างกายหนักๆ รู้สึกอ่อนล้า ร่างกายหนักๆ กระตือรือร้นน้อยลง ซึ่งปกติแล้วเราก็จะหยุดพักเพื่อปรับเปลี่ยนอารมณ์ให้รู้สึกดีขึ้น แต่สำหรับบางคนแล้วยังคงรู้สึกวนเวียนกับวงจรเดิมๆ ไม่หายจากการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียซึ่งส่งผลเสียต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการบอกความเหนื่อยล้า

หากว่าคุณมีอาการตอบสนองช้าลง มีความรถสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้อยลง สมาธิสั้น เคลื่อนไหวช้าไม่รู้สึกกระฉับกระเฉง ถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้แสดงว่าคุณกำลังรู้สึกเมื่อยและก่อให้เกิดอาการเหนื่อยล้าสะสมไปเรื่อยๆ ถ้าติดต่อกัน 1 สัปดาห์ ก็จะเป็นปัญหาลุกลามในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งทำให้นอนตื่นยาก ประสิทธิภาพการทำงานลดลงแม้ไมไม่ได้ออกกำลังกายหรือดื่มหนักใดๆ ยิ่งยุคนี้ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลากว่าครึ่งหนึ่งของชีวิตตนเองทำงาน ทุ่มเทเรื่องงานมากกว่าการดูแลสุขภาพตัวเอง โดยมนุษย์ออฟฟิสถือว่าเข้าข่ายเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ

พนักงานออฟฟิสส่วนมากจะนั่งอยู่หน้าคอมฯ เฉลี่ยวันละ 8-10 ชม. หลังขดหลังแข็ง มือค้างอยู่บนแป้นพิมพ์นานๆ หรืออยู่ในท่าเดิมๆ ซ้ำๆ นานๆ พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อร่างกายที่ใช้กล้ามเนื้อหนัก ผลที่เกิดขึ้นคืออาการเจ็บป่วย ปวดเมื่อยเรื้อรัง ตามหลัง ไหล่ ซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของออฟฟิสซินโดรม

วิธีป้องกันและจัดการกับความเหนื่อยล้า

1.รู้จักกลไกการสร้างพลังงานของร่างกาย

การขาดแคลนกลุ่มวิตามินไม่ว่าเพศใดอายุไหนก็ตามจะมีความเหนื่อยล้าอาจมีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินบี 1  เป็นสารอาหารรองที่สำคัญเพระาช่วยเปลี่ยนสารอาหารหลักสามกลุ่ม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันให้กลายเป็นพลังงาน ส่วนกลุ่มวิตามินบี B1 B2 B6 กรด Pantothenic กรดนิโคตินิก  และวิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการผลิตพลังงานให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการได้รับสารอาหารที่สมดุลจึงเป็นเรื่องหลักในการรักษาสุขภาพ

2.การออกกำลังกาย

ออกกำลังกายแบบเบาๆ จะช่วยในการยืดกล้ามเนื้อและฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้า การยืดกล้ามเนื้อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต การยืดกล้ามเนื้อที่หัวตัวช้าๆ ทำให้ออกซิเจนและสารอาหารส่งถึงทุกมุมของกล้ามเนื้อและเร่งฟื้นตัวบรรเทาอาการเมื่อยล้าลงได้ การออกกำลังกายที่พอเหมาะ บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพและเสริมวิตามินเป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลสุขภาพ

วิตามินบี 1 หรือ ไทอามีน เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ช่วยเผาผลาญพลังงานโดยเปลี่ยนสารอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นพลังงานที่สามารถไปใช้เติมเต็มส่วนต่างๆ ของร่างการ กล้ามเนื้อและระบบประสาท ถ้าหากกล้ามเนื้อขาดพลังางานจากวิตามินบีก็จะทำให้เกิดการบกพร่องในการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ปวด ตึง เมื่อย และยิ่งอยู่ในสภาวะเครียด สอมงและระบบประสาทจะใช้พลังงานมากเขึ้น ความต้องการวิตามินบี 1 จึงเพิ่มมากขึ้น แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ นอกจากนี้ยังดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยอีกด้วย

ใครบ้างที่ควรรับประทานวิตามินบี 1

เนื่องจากวิตามินบี1มีหน้าที่หลักๆ ในการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อและระบบประสาท ดังนั้นคนที่ควรรับประทานวิตามินบี 1 ก็คือกลุ่มคนที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อและระบบประสาทมากนั่นเอง ซึ่งได้แก่คนทำงานที่ต้องการใช้ชีวิตให้เต็มที่ ทั้งบทบาทที่ทำงาน และชีวิตส่วนตัว และคนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้

  1. ผู้ที่มีพฤติกรรมอยู่ในท่าเดิมๆ ซ้ำๆ นานๆ  ต้องทำงานที่มีการนั่ง ยืน  เดิน หรือค้างอยู่ในท่าเดิมนานๆ จะมีการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนัก มีอาการปวดเมื่อยร้าวตามหลัง ไหล่ ได้ เช่น พนักงานออฟฟิศ คนที่ยกของหนักเป็นประจำหรือนั่งขับรถเป็นเวลานาน
  2. ผู้ที่ใช้สมองอย่างหนักและมีความเครียดสะสม เช่น คนวัยทำงาน นักเรียน นักศึกษาช่วงใกล้สอบ
  3. ผู้ที่มาอาการอ่อนเพลีย นอนน้อย ทำงานหนัก นอนดึก
  4. ผู้ที่มีอาการชา ตามปลายมือปลายเท้า เช่นคนที่ใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ดเยอะ คนสูงอายุ คนเป็นโรคเบาหวาน
  5. ผู้ที่มีพฤติกรรมที่ใช้สายตาเยอะ เช่น นั่งจ้องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
  6. ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น นักกีฬา เนื่องจากมีการใช้พลังงานกล้ามเนื้อเยอะ
  7. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงดังกล่าวนี้เป็นสภาวะที่ร่างกายของแม่ต้องการใช้พลังงานสูงมาก จึงมีความต้องการมากขึ้นด้วย ดังนั้นหากรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 เท่าเดิมก็จะมีโอกาสเกิดการขาดวิตามินบี 1 ได้  (ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยา)
  8. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีโอกาสขาดวิตามินบี 1 เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลยับยั้งการดูดซึมของวิตามินบี 1 ที่บริเวณลำไส้เล็ก นอกจากนี้ยังเชื่อว่า ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมักรับประทานอาหารโดยภาพรวมลดลง ทำให้ได้รับวิตามินบี 1 จากอาหารน้อยลงตามไปด้วย
  9.  ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีสารต้านไทอามีน (anti-thiamine factors) เป็นสารที่สามารถทำลายวิตามินบี 1 ได้โดยตรง ตัวอย่างอาหารที่มีสารต้านไทอามีนอยู่มาก ได้แก่ ปลาดิบ  หอยดิบ หมาก และอาหารที่ผ่านการหมักแล้วมีการเจือปนของ mycotoxin ต่างๆ (mycotoxin คือสารพิษจากเชื้อรา)
  10. ผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น ไม่รับประทานผัก หรือทานแต่มังสวิรัติหรือเจ ก็จะพลาดโอกาสได้รับวิตามินบี 1 ที่พบเฉพาะในเนื้อสัตว์เท่านั้น

อ้างอิงข้อมูลจาก marketingoops.com